top of page

พาเลทไม้

          พาเลทไม้ คือ อุปกรณ์จำเป็นที่ช่วยวาง สินค้า และขนถ่ายสินค้า ในขึ้นตอนการขนถ่ายสินค้า ในการขนส่ง เพื่อการส่งออก และใช้ขนถ่ายสินค้าที่ใช้ กันในอุตสาหกรรม วัถตุดิบที่ใช้ทำพาเลท ไม้ยางพาราไม้เนื้อแข็ง ไม้เบญจพรรณ ไม้เต็ง พาเลทไม้ ทำจากวัสดุที่หาได้ จากภายในประเทศ ข้อดีของพาเลทคือ ให้ความสะดวกรวดเร็วในการขนย้ายสินค้า ลดความเสียหายของสินค้า จัดเรียงสินค้า ประหยัดพื้นที่ เป็นระเบียบ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลักษณะพาเลทขึ้นอยู่กับการใช้งาน และตามความเหมาะสม

IPPC

IPPC คือ มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่องข้อกำหนดสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก หรือ ISPM 15

          (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15: Guidelines for Regulating Wood Packing Material in International Trade) หมายถึง มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 15 ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้ กำหนดวิธีในการปฏิบัติเพื่อควบคุมกำจัดศัตรูพืชที่อาศัยอยู่ในวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้ขนส่งไปต่างประเทศ รวมทั้งข้อปฏิบัติเพื่อขอใบรับรอง และหรือขอประทับตราเครื่องหมายรับรองบนวัสดุบรรจุภัณฑ์ ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (Wood Packing Material) ในที่นี้หมายถึง วัสดุหรือส่วนประกอบที่ทำจากไม้ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์กระดาษ)

ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้แก่ ลังไม้แบบโปร่ง (crating) กล่องไม้ (packing block) ถังไม้ (drums) ไม้รองรับสินค้า (pallet) วัสดุไม้กันกระแทก (dunnage) ลังไม้แบบทึบ (case) ไม้รองมุมกันกระแทก (pallet collars) ไม้รองลาก (skids) และ load boards

         

          ซึ่งผลิตโดยใช้วัตถุดิบไม้หรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ไม่ครอบคลุมวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ดังนี้ เช่น วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้แปรรูป (ผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผ่านการแปรสภาพโดยใช้ กาว ความร้อน ความดันหรือวิธีข้างต้นร่วมกัน ได้แก่ ไม้อัด เส้นใยไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัด เป็นต้น ไม่ได้หมายถึง ไม้แปรรูปที่เป็นไม้ท่อนแบบที่เราเรียกกัน) วัตถุดิบไม้ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร และผลพลอยได้จากไม้แปรรูป ได้แก่ ไส้ไม้ (veneer peeler cores) ขี้เลื่อย ฝอยไม้ ขี้กบ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ทำให้โอกาสที่แมลงศัตรูไม้เข้าสู่ประเทศผู้นำเข้าได้น้อยวิธีการที่ได้รับการรับรอง ประกอบด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

          1. วิธีการอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) วัตถุดิบไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านการอบด้วยความร้อน จนแกนกลางของไม้ ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที หากนำไม้นั้นอบแห้ง (kiln-drying :KD) อัดน้ำยาด้วยแรงอัด (Chemical Pressure Impregnation :CPI) หรือวิธีอื่นใด ก็ต้องให้แกนกลางไม้ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาทีเช่นกัน จึงจะได้รับการพิจารณาว่าผ่านวิธีปฏิบัติด้วยการอบด้วยความร้อน

          2. วิธีรมด้วยเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide Fumigation) วัตถุดิบไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านการรมด้วยเมทิลโบรไมด์ตามอุณหภูมิ อัตรา เวลา และความเข้มข้นที่กำหนด รายชื่อศัตรูพืชสำคัญที่อาศัยในวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ถูกกำจัดได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่ได้รับการรับรอง 

                                                       

bottom of page